วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การคายน้ำของพืช

 พืชนำน้ำเพียงส่วนน้อยจากที่ดูดขึ้นมาจากดินไปใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม (Metabolism) เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำทั้งหมดที่นำเข้าสู่พืช เช่น ข้าวโพดต้นหนึ่งเมื่อเจริญจนครบวงชีวิต ต้องใช้น้ำทั้งสิ้นประมาณ 243 ลิตร ส่วนใหญ่พืชสูญเสียน้ำไปมากถึง 98 % ออกไปในรูปของไอน้ำสู่บรรยากาศ โดยการคายน้ำ (Transpiration) ผ่านทาง ปากใบ (Stomata) เป็นส่วนใหญ่และผ่านผิวใบได้เล็กน้อย  อ่านต่อ

การเดินทางของเสียง

ปริศนาที่เก่าแก่อันหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ถ้าต้นไม้ล้มกลางป่าลึก และไม่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณนั้น คำถามก็คือว่า ต้นไม้ที่ล้มนี้ ทำให้เกิดเสียงหรือไม่ เพื่อที่จะตอบปริศนานี้ นักเรียนจำเป็นต้องนิยามคำว่า "เสียง" เสียก่อนว่า เสียงคืออะไร ถ้าเสียงหมายถึงสิ่งที่มนุษย์ต้องได้ยินด้วยหูของมนุษย์ เสียงในความหมายนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อต้นไม้ล้ม เพราะไม่มีใครอยู่ในบริเวณนั้นที่จะได้ยินเสียง  อ่านต่อ

การเดินทางของแสง

ถ้าเราสังเกตรอบตัวเราในแต่ละวัน  จะเห็นการเดินทางของแสง                                                      แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆแสงที่ส่องผ่านหน้าต่าง             ลำแสงเล็ก ๆ เรียกว่า รังสีของแสงแสดงว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรงออกจากแหล่งกำเนิดแสงทุกทิศทุกทาง  แสงเดินทางจากแหล่งกำเนิดทุกทิศทาง และเคลื่อนที่เป็นส่วนตรง แสงไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่  อ่านต่อ

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแพร่และการออสโมซิส

การแพร่และการออสโมซิส
      การแพร่ (diffusion) คือ การกระจายอนุภาคของสารจากที่ซึ่งมีความเข้มข้นของอนุภาคสารมาก ไปสู่ที่ซึ่งมีความเข้มข้นของอนุภาคสารน้อย การแพร่จะเกิดไปเรื่อยๆ จนกว่าอนุภาคของสารทั้งสองบริเวณมีความเข้มข้นเท่ากัน เรียกว่า สมดุลของการแพร่
     
      ออสโมซิส (Osmosis) คือ กระบวนการแพร่ของน้าจากที่ซึ่งมีอนุภาคของน้ามากกว่าไปสู่ที่ซึ่งมีอนุภาคน้ำน้อยกว่า โดยผ่านเยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrane) เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ กระดาษเซลโลเฟน กระเพาะปัสสาวะสัตว์และเยื่อชั้นในของเปลือกไข่